ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

เปิดไกด์ความปลอดภัย ลดเสี่ยงอุบัติเหตุรถล้มสำหรับสายทัวร์ริง

ใครที่เป็นสายทัวร์ริง ออกเดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์แบบเป็นคาราวานกับระยะทางข้ามจังหวัด ย่อมรู้ดีว่าความเหนื่อยล้า ตลอดจนเส้นทางที่ไม่ได้ราบรื่นในทุก ๆ ระยะไมล์ ถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรถล้มได้โดยไม่คาดคิด มาลองดูกันดีกว่าว่า เส้นทางการเป็นไบค์เกอร์ขับรถมอเตอร์ไซค์ทางไกลแบบนี้ จะมีวิธีรับมือและลดความเสี่ยงอย่างไรให้อุ่นใจได้บ้าง?

 

ทริปไกลเสี่ยงอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้ม ป้องกันอย่างไร

 

5 แนวทาง ช่วยลดความเสี่ยงรถมอเตอร์ไซค์ล้มเมื่อเดินทางไกล

สายทัวร์ริงรู้กันดีว่าการเดินทางไกลโดยมียานพาหนะเป็นรถมอเตอร์ไซค์นั้น เป็นการแบกรับความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุรถล้มได้ทุกขณะ แต่ถ้าหากเตรียมตัวให้พร้อมก็ช่วยลดความเสี่ยง ให้คุณมั่นใจได้ในทุกเส้นทางอย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วยนะ ส่วนแนวทางการเตรียมพร้อมก็มีเพียง 5 ขั้นตอน รับประกันเลยว่าไม่ยุ่งยาก แค่ทำตามก็พร้อมออกทริปลุยยาวได้อย่างปลอดภัยแน่นอน

1. เตรียมความพร้อมด้านเส้นทาง

อันดับแรกจะต้องเตรียมความพร้อมจากการศึกษาเส้นทางให้มั่นใจว่า ทางที่จะไปนั้นมีเส้นทางหลักไปทางไหนได้บ้าง และมีลักษณะของถนนเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้จัดขบวนทัวร์ริงให้เหมาะสม เอาคนที่มีทักษะการขับขี่ไปไว้ด้านหน้าและปิดท้าย ส่วนคนที่เพิ่งเป็นมือใหม่ก็ให้อยู่กลางขบวน ซึ่งก็ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางการวางแผนที่ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุรถล้มเมื่อขับขี่ในเส้นทางที่ไม่คุ้นชินได้เป็นอย่างดี

2. สวม Riding Gear ให้พร้อมอยู่เสมอ

Riding Gear หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการขับขี่ เช่น หมวกกันน็อก, แจ็กเกต, กางเกงขายาว, รองเท้าหุ้มข้อ, ถุงมือขับขี่ ตลอดจนสนับเข่าและศอกตามความเหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้จะเหมาเป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานก็สามารถทำได้ เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันลม เศษหิน ดิน ฝุ่นเข้าตา และแสงแดดทำร้ายผิวหนังแล้ว ยังมีคุณสมบัติหลัก ๆ อีกหนึ่งประการ นั่นคือการช่วยลดทอนความร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย หลังประสบอุบัติเหตุจากรถมอเตอร์ไซค์ล้มได้นั่นเอง

3. ขับขี่ตามกฎจราจรและป้ายสัญญาณจราจรเสมอ

การขับขี่ตามกฎจราจรและป้ายสัญญาณ เป็นอีกหนึ่งโซลูชันช่วยลดทอนความเสี่ยงที่ได้ผลดีมาก ๆ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้ใช้รถใช้ถนนอีกด้วย โดยกฎพื้นฐานที่ควรทำตามก็มีอยู่มากมาย อาทิ การขับชิดขอบทางด้านซ้าย สำหรับรถเล็กที่ทำความเร็วได้ต่ำกว่า 100 กม./ชม. รวมไปถึงการขับขี่ที่ไม่ควรแซง ปาดหน้า เปลี่ยนเลนไปมา เพราะอาจจะทำให้ผู้ใช้ถนนคนอื่นสับสน จนนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงได้

4. เตรียมการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน

เตรียมความพร้อม ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุรถล้ม

 

เพื่อป้องกันอุบัติเหตุรถล้ม หรือหลงขบวนเมื่อออกทริป การเตรียมความพร้อมด้านการสื่อสารจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สำคัญ โดยส่วนมากจะนิยมใช้การให้สัญญาณผ่านไฟเลี้ยวเป็นหลัก และใช้สัญญาณมือเป็นรอง เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันจากการขับขี่เพียงหนึ่งมือ ซึ่งเหตุการณ์ที่มักจะพบเจอบ่อย ๆ ในการสื่อสาร มักจะเป็นการเลี้ยว การเปลี่ยนเลน การเปลี่ยนเส้นทาง รวมไปถึงการหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่าง ๆ นั่นเอง

5. ซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ตอบโจทย์ พร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดคิด

ปิดท้ายด้วยการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุไม่คาดคิด อย่างการเลือกซื้อแผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือประกัน PA (Personal Accident) ด้วยเทคนิคการมองหากรมธรรม์ที่ตอบโจทย์ โดยเน้นพิจารณาไปที่วงเงินคุ้มครอง ความคุ้มครองที่ครอบคลุม และค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับงบประมาณ เพียงเท่านี้ก็จะได้แผนประกัน PA ที่ใช่เอาไว้ใช้อย่างแน่นอน

อุ่นใจได้ทุกครั้งที่ออกทริป ด้วยการเลือกประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ใช่ พร้อมจ่ายเบี้ยราคาไม่แพงได้แล้ววันนี้ กับประกันดี ๆ จาก gettgo ด้วยการมอบความคุ้มครองที่ครอบคลุม ให้คุณเลือกซื้อได้ตามความเสี่ยง ความต้องการ และงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ หากสนใจแล้วไปกดซื้อกันได้เลย! 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-111-7800 หรือ LINE OA : @gettgo 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. 5 Tips ในการเดินทางไกลด้วยรถจักรยานยนต์ อย่างปลอดภัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 จาก https://www.autospinn.com/2014/08/5-tips-ในการเดินทางไกลด้วยรถ 

บทความที่คุณอาจสนใจ

ถอยรถชนรั้ว ขับชนเสาไฟฟ้า ต้องเคลมประกันยังไง เมื่อไร้คู่กรณี???
เปิดขั้นตอนการต่อใบขับขี่ออนไลน์ บนระบบ DLT e-learning
รวมสถานีชาร์จรถไฟฟ้าจาก 5 ผู้ให้บริการรายใหญ่
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊