ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

การบริจาคเลือด กับข้อห้ามที่หลายคนอาจไม่เคยรู้!

 

“อยากไปบริจาคเลือด แต่มีรอยสัก ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อห้ามไหม?”


หนึ่งในวิธีการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ต่อเพื่อนมนุษย์ที่ง่าย สะดวก และเกิดประโยชน์มากที่สุดก็คือ “การบริจาคเลือด” โดยข้อมูลจากสภากาชาดไทยเผยว่า คลังเลือดของประเทศไทยขาดแคลนอยู่เสมอ เนื่องจากความต้องการใช้เลือดมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่าปริมาณเลือดที่ได้รับการบริจาคเข้ามา โดยปริมาณความต้องการใช้เลือดของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านยูนิตต่อปี ในขณะที่ปริมาณเลือดที่บริจาคเข้ามาอยู่ที่ประมาณ 1.6 ล้านยูนิตต่อปี ทำให้คลังเลือดขาดแคลนอยู่ประมาณ 400,000 ยูนิตต่อปี ดังนั้น หากคุณอยากมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สามารถทำได้โดยการบริจาคเลือด อย่างไรก็ตาม การบริจาคเลือดไม่ใช่อยากจะไปบริจาคก็สามารถทำได้เลย เพราะการบริจาคเลือดมีข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ควรทราบ โดยบทความนี้รวบรวมมาไว้ในที่เดียว ติดตามได้เลย

 

 

ข้อห้ามในการบริจาคเลือด

ถึงแม้การบริจาคเลือดจะสามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้อย่างมหาศาล แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่อายุ 17-70 ปี มีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักตัวมากกว่า 50 กิโลกรัมและพักผ่อนเพียงพอแล้ว การบริจาคเลือดก็ยังมีข้อห้ามที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

ข้อห้ามชั่วคราว

  1. สตรีที่กำลังตั้งครรภ์: เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องใช้เลือดมากในการเลี้ยงดูทารกภายในครรภ์ จึงไม่ควรที่จะมาบริจาคโลหิต แนะนำให้รอหลังจากที่คลอดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง: เพราะร่างกายอ่อนเพลียจากการสูญเสียน้ำ การบริจาคเลือดจึงเป็นข้อห้าม เนื่องจากอาจส่งผลอันตรายได้ แนะนำให้รอ 7 วันหลังจากที่หายดีแล้วเป็นอย่างน้อย
  3. ผู้ที่มีการสักหรือเจาะผิวหนัง: แพทย์จะแนะนำให้เว้นระยะการบริจาคเลือดไปประมาณ 1 ปี ภายหลังการสักหรือเจาะครั้งล่าสุด เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้
  4. ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษารากฟัน: หากเพิ่งได้รับการรักษาทางทันตกรรมเหล่านี้มา ควรงดการบริจาคเลือดประมาณ 3-5 วันเป็นอย่างต่ำ
  5. มีประวัติติดยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษในระยะ 3 ปี: เหตุเพราะการใช้สารเสพติด รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสพมีโอกาสสูงที่จะทำให้มีการติดเชื้อในเลือด ดังนั้น ต้องเว้นระยะ 3 ปีก่อนการบริจาคเลือด
  6. ได้รับการผ่าตัด: สำหรับการผ่าตัดเล็ก ให้งดบริจาคเลือดเป็นระยะเวลา 7 วัน ส่วนผ่าตัดใหญ่ แพทย์แนะนำให้งด 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
  7. รับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน: งดเว้นการบริจาคเลือด 3 วัน 
  8. ป่วยเป็นไข้หวัด: สำหรับไข้หวัดธรรมดา หลังจากหายดีแล้ว 7 วันสามารถบริจาคเลือดได้ แต่สำหรับไข้หวัดใหญ่ ควรต้องรออย่างน้อย 4 สัปดาห์

ข้อห้ามถาวร

  1. ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
  2. โรคเอดส์ หรือติดเชื้อ HIV
  3. โรคไวรัสตับอักเสบ
  4. ผู้ป่วย หรือเคยป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
  5. โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน
  6. โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง
  7. ผู้ป่วยโรคมะเร็ง งดบริจาคเลือดถาวร ถึงแม้จะรักษาหายแล้วก็ตาม
  8. โรคถุงลมโป่งพอง
  9. โรคหนองใน
  10. ภาวะเหล็กเกิน
  11. ไทรอยด์เป็นพิษ
  12. โรคพาร์กินสัน
  13. โรคซิฟิลิส

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการบริจาคเลือด

หากต้องการที่จะบริจาคเลือด นอกจากข้อห้ามแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องรู้ก็คือ “การเตรียมตัว” เพื่อให้เลือดของเรามีคุณภาพดี พร้อมสำหรับการบริจาคมากที่สุด ไม่ต้องกลัวเสียเที่ยวว่าเลือดจะลอย ไม่สามารถบริจาคได้ โดยแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

  1. นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ในคืนก่อนบริจาค
  2. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมันจัด เช่น ข้าวขาหมู ไก่ทอด ก่อนมาบริจาคโลหิตภายใน 3 ชั่วโมงก่อนมาบริจาค
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี
  5. สวมใส่เสื้อผ้าสบาย ไม่คับจนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณแขนเสื้อ โดยควรสามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว

 

 

บริจาคเลือดได้บ่อยแค่ไหน?

ตามคำแนะนำของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย สามารถบริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 4 ครั้ง คือทุก 3 เดือน โดยแบ่งเป็น 2 ครั้งต่อไตรมาส เมื่อได้ทราบแล้วว่าการบริจาคเลือดมีข้อห้ามอะไรบ้าง ดังนั้น เพื่อการมีสุขภาพที่ดี สามารถบริจาคเลือดแก่ผู้อื่นได้อย่างยาวนาน ก็ควรที่จะทำประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์และสร้างหลักประกันที่มั่นคงด้วย โดยขอแนะนำประกันสุขภาพ So You จาก gettgo ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สมัครง่าย 5 นาทีเสร็จ แค่บัตรประจำตัวประชาชนใบเดียว ปรับแต่งความคุ้มครองต่าง ๆ ได้เอง คุ้มครองโรคร้ายแรงต่าง ๆ ทั้งโรคมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จนถึงระยะรุนแรง หรือโรคร้ายแรงยอดฮิต เพิ่มด้วย D Care รับผลประโยชน์เป็นเงินก้อน หรือคุ้มครองสุขภาพ D Health (N) ที่ให้ความคุ้มครองผู้ป่วยในแบบเหมาจ่าย วงเงินสูงสุด 5 แสนบาทต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง หรือเลือก Top up จากความคุ้มครองสุขภาพที่มีอยู่ได้สูงสุด 1 ล้านบาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-111-7800 หรือ LINE OA : @gettgo 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. โรคและภาวะต่างๆ ที่มีผลต่อการบริจาคโลหิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 จาก https://blooddonationthai.com/wp-content/uploads/2021/12/โรคและภาวะต่างๆ-ที่มีผลต่อการบริจาคโลหิต.pdf 
  2. คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/th/blood_bank 

บทความที่คุณอาจสนใจ

ถอยรถชนรั้ว ขับชนเสาไฟฟ้า ต้องเคลมประกันยังไง เมื่อไร้คู่กรณี???
ทำไมถึงควรเปรียบเทียบประกันรถก่อนซื้อ
ต่อประกันล่วงหน้ากันดีกว่า  อย่าชะล่าใจไป เพราะรู้อะไรก็ไม่เท่ารู้งี้
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊