ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo
รู้จุดเด่น... เห็นจุดต่าง ทุกประกันออนไลน์ gett แล้ว go เลย!
พ.ร .บ. ออนไลน์ ซื้อง่าย คุ้มครองทันที พ.ร .บ. ออนไลน์ ซื้อง่าย คุ้มครองทันที

พ.ร.บ. รถยนต์

รู้จุดเด่น เห็นจุดต่าง gett แล้ว go เลย!
 
Preloader

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ประกัน พ.ร.บ. | พ.ร.บ. รถยนต์

ประกันพ.ร.บ. หรือบางคนเรียก พ.ร.บ.รถยนต์ คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ที่กำหนดให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำ

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้ระบุไว้ว่า รถทุกชนิดต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ถ้าไม่ทำก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท อีกทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อต่อภาษีรถประจำปีด้วย

มากไปกว่าโทษปรับและการใช้เพื่อต่อภาษี พ.ร.บ.รถยนต์ ยังมีความสำคัญในการคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้า ในกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

พ.ร.บ.รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?

ความคุ้มครองแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ

ค่ารักษาพยาบาล สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต

ค่ารักษาพยาบาล สูญเสียอวัยวะ
ทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต

ค่าชดเชย กรณีนอนรักษาเป็น
คนไข้ในโรงพยาบาล

ค่าชดเชย กรณีนอนรักษาเป็น
คนไข้ในโรงพยาบาล

ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต

ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต

ตารางสรุปความคุ้มครอง ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์)

ค่าเสียหายเบื้องต้น

จ่ายค่ารักษาสูงสุด

จ่ายค่ารักษาสูงสุด

30,000 บาท/คน

ค่ารักษาพยาบาล สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต

พิการ/เสียชีวิต

35,000 บาท/คน

เพราะฉะนั้นถ้าในกรณีเป็นฝ่ายผิดจะเบิกได้
สูงสุดไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

หากเป็นฝ่ายถูก

รับค่ารักษาตามจริงสูงสุด

รับค่ารักษาตามจริงสูงสุด

80,000 บาท/คน

สูญเสียอวัยวะ/เสียชีวิต

สูญเสียอวัยวะ/เสียชีวิต

2-5 แสนบาท/คน

นอนโรงพยาบาล รับค่าชดเชย

นอนโรงพยาบาล รับค่าชดเชย

200 บาท/วัน
ไม่เกิน 20 วัน

เพราะฉะนั้นถ้าในกรณีเป็นฝ่ายถูกจะเบิกได้
สูงสุดไม่เกิน 504,000 บาทต่อคน

*ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต บาดเจ็บ ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถ
บริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิด

พ.ร.บ.รถยนต์ ต่างกับประกันรถยนต์อย่างไร?

สำหรับใครที่สงสัยว่า พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ประกันรถยนต์ ต่างกันอย่างไร สามารถสรุปได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • พ.ร.บ.รถยนต์ คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ที่คนมีรถทุกคนจำเป็นต้องทำ เพราะการซื้อพ.ร.บ.รถยนต์ จะช่วยคุ้มครองผู้ขับขี่ ตามวงเงินที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ ราคาจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ แต่บอกเลยว่า พ.ร.บ.รถยนต์ นั้นมีราคาถูก เริ่มต้นเพียงหลักร้อยเท่านั้น แถมยังมีอัตราเบี้ยคงที่ แม้จะผ่านไปกี่ปีก็ไม่มีเพิ่มขึ้นอีกด้วย
  • ประกันรถยนต์ คือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่เจ้าของรถสามารถเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ซึ่งประกันรถยนต์จะให้ความคุ้มครองทั้งตัวรถยนต์และตัวผู้ขับขี่ ขึ้นอยู่กับวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และเงื่อนไขของบริษัทประกันแต่ละเจ้า

ทำเรื่องรถให้เป็นเรื่องง่าย ซื้อพ.ร.บ.รถยนต์ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ได้ที่ gettgo

เปลี่ยนเรื่องรถยนต์ให้กลายเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะซื้อพ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ ก็ทำได้ที่ gettgo เพียงเลือกรุ่นรถยนต์ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และชำระเงิน ซื้อแล้วให้ความคุ้มครองทันที สามารถนำไปต่อภาษีได้เลยแบบไม่ต้องรอ เช็กค่า พ.ร.บ.รถยนต์ ออนไลน์บนเว็บไซต์ของเราได้เลย

บล็อกน่ารู้เกี่ยวกับรถยนต์

สถานีชาร์จรถไฟฟ้าในกทม. มีที่ไหนบ้าง ?

สถานีชาร์จรถไฟฟ้าในกทม. มีที่ไหนบ้าง ?

เชื่อว่าหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนตัดสินใจว่าจะลงทุนซื้อ “รถยนต์ไฟฟ้า” หรือ “EV Car” ดีหรือไม่ คือเรื่องความสะดวกสบายในการหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า โดยเฉพาะสำหรับการใช้งานในกทม. เนื่องจาก..

อ่านต่อ

เผย 5 สาเหตุที่ทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็น เปิดมามีแต่ลม

เผย 5 สาเหตุที่ทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็น เปิดมามีแต่ลม

ย่างเข้าหน้าร้อน อากาศก็ยิ่งระอุขึ้นอย่างเอาเรื่อง ยิ่งใครที่ต้องขับรถ เจอการจราจรประเทศไทยในช่วงเวลากลางวันที่พระอาทิตย์แทบจะอยู่กลางหัว แล้วเกิดแอร์รถไม่เย็นพอดี เปิดยังไงก็มีแ..

อ่านต่อ

7 จุดเช็กอินหมู่บ้านโบราณ เมืองเก่าญี่ปุ่น ฟีลคลาสสิกย้อนยุค

7 จุดเช็กอินหมู่บ้านโบราณ เมืองเก่าญี่ปุ่น ฟีลคลาสสิกย้อนยุค

  ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างความทันสมัยและความดั้งเดิมได้อย่างลงตัว หนึ่งในเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกคือ "เมืองเก่า" ที่ทำให้เหล่..

อ่านต่อ

อ่านทั้งหมด
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม
Back to Top

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊