ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

Office Syndrome ปัญหาสุขภาพที่คนวัยทำงานเข้าใจกัน


 

ออฟฟิศซินโดรมไม่ใช่โรคใหม่หรือโรคที่เพิ่งเกิด แต่มีมานานแล้ว และก็ยังคงเป็นปัญหาสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ที่ต้องทำงานหน้าโต๊ะคอมเป็นเวลานาน ๆ ในทุกยุคทุกสมัย โดยออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เกิดจากลักษณะการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่มีพักเบรก นั่งติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมงโดยไม่ลุกไปไหน หรือไม่เปลี่ยนอิริบาบถ ซึ่งโรคนี้นั้น จะส่งผลให้เกิดอาการ อย่างเช่น ปวดหลัง อาการชาที่มือ ปวดเสียดท้องเนื่องจากทานอาหารไม่ตรงเวลา และนอกจากนี้อาจมีผลต่อเนื่องไปยังโรคต่าง ๆ อย่างโรคกระเพาะ โรคอ้วน หรือโรคเครียดก็ได้นะครับ

 

เห็นไหมครับว่าออฟฟิศซินโดรม โรคที่เราคุ้นหูกันอยู่นี้ ถ้าปล่อยไปแบบเลยตามเลย อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าแค่อาการปวดต่าง ๆ ได้นะครับ วันนี้ gettgo จึงจะข้อเสนอ ทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเปลี่ยนนิสัยของคุณเวลาทำงาน เพื่อช่วยให้เราห่างจากออฟฟิศซินโดรมกันนะครับ

 

1. สร้างบรรยากาศของโต๊ะทำงานให้เหมาะสม

ปรับบรรยากาศบนโต๊ะทำงานของคุณให้เหมาะแก่การทำงาน เช่น ทำให้โต๊ะสะอาด เลือกมุมที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อึดอัดจนเกินไป

2. เปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 30-40 นาที 

ควรให้เวลาพักเบรกตัวเองทุก ๆ 30-40 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ไม่เกร็งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่นการลุกเดิน การเปลี่ยนท่านั่งเพื่อยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อ รวมไปถึงให้ใช้เวลานี้ในการพักสายตาจากจอคอมสัก 5-10 นาทีด้วยนะครับ

3. เลือกเก้าอี้ให้ดี และหาท่านั่งที่ถูกสุขลักษณะ

สำหรับคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่นาน ๆ ควรเลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระของตนเอง ซัพพอร์ตหลังได้ดี เวลานั่งไม่ควรก้มตัวไปข้างหน้า ควรนั่งให้เต็มเก้าอี้และพิงหลังไปกับพนัก รวมไปถึงการนั่งที่ดีนั้น ไม่ควรให้เท้าลอยจากพื้น ควรให้เท้าจรดพื้นพอดี หากเท้าลอยให้หากล่องมาลองเหยียบเพื่อกันเมื่อยนะครับ

4. ปรับหน้าจอคอมให้พอดี ไม่ต่ำหรือสูงเกินไป

องศาสำหรับการมองจอคอมที่ดีนั้น ควรตั้งจอให้อยู่ตรงหน้าเรา อยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20 องศา เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ไม่ต้องก้มหรือเงยหน้ามากจนเกินไป รวมถึงระยะห่างระหว่างจอคอมกับตัวเราควรอยู่ที่ประมาณ 1 ข้อศอกนะครับผม

5. หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ

การออกกำลังกายที่ช่วยให้ห่างจากออฟฟิศซินโดรมได้ ควรเลือกการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วงลำตัว อย่าง โยคะ ที่จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ป้องกันเอ็นและข้อยึดได้ครับ

 

ทิปส์ง่าย ๆ แก้ออฟฟิศซินโดรม

  • หากเก้าอี้ทำงานที่บริษัทของคุณลึกกว่าที่จะนั่งให้เต็มเก้าอี้ได้แนะนำให้หาหมอนมารองหลังไว้นะครับ

  • ปรับระดับของเก้าอี้ให้เท้าถึงพื้นพอดี หากเท้าลอยให้หาอะไรมารองเท้าไว้นะครับ เพื่อให้ขากับสะโพกตั้งฉากกันซึ่งจะช่วยในการกระจายน้ำหนักได้เป็นอย่างดีครับ

และทั้งหมดนี้ก็คือทริคที่จะช่วยให้มนุษย์ออฟฟิศอย่างเรา ๆ ห่างไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้นะครับ แต่สำหรับใครที่เป็นออฟฟิศซินโดรมจนมีภาวะแทรกซ้อนอย่าง โรคเครียด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือความดันโลหิตสูง อย่าปล่อยให้เป็นหนัก ควรรีบพบแพทย์ทันทีนะครับ และช่วงนี้ก็อย่าลืมดูสุขภาพให้แข็งแรงและทำประกันสุขภาพกันไว้ด้วยนะครับผม

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

เล็งค่าห้อง 8,000 ประกันสุขภาพเจ้าไหน เบี้ยต่อปีถูกสุด
เอาใจวัย (เตรียม) เกษียณ ประกันสุขภาพไหนจ่ายคุ้มในงบ 50,000
ปีใหม่ทั้งทีมาเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคอ้วนลงพุงกันเถอะ
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น